|
|
|
นโยบายการพัฒนาของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล นโยบายที่แถลงต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลับ ได้กำหนดนโยบายการบริหาร โดยจะยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญ เน้นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมทำ และร่วมกันแก้ไขปัญหาอุปสรรคความเจริญของท้องถิ่นภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และประสานความร่วมมือระหว่างฝ่ายการเมือง พนักงานส่วนตำบล พนักงานจ้าง และลูกจ้าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนภายใต้ระบบการเชื่อมโยงที่เป็นเครือข่าย และจะบริหารงานด้วยความโปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริต เป็นธรรม ตรวจสอบได้ ตามหลักธรรมาภิบาล จึงได้กำหนดนโยบายเพื่อบริหารราชการ ไว้ 8 ด้าน ประกอบด้วย 1. นโยบายด้านการบริการประชาชน 1.1 เน้นเรื่องการบริการประชาชน ด้านความถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรมและประชาชนพึงพอใจโดยการปรับระยะเวลาการปฏิบัติงานให้สั้นลงเพื่อบริการประชาชนให้รวดเร็วกว่าปกติโดยเป็นไปตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 1.2 ให้บริการศูนย์ข้อมูลข่าวสารของทางราชการเพื่อบริการประชาชนที่ประสงค์จะขอทราบข้อมูลข่าวสารของทางราชการที่สามารถเปิดเผยได้ ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 1.3 ให้บริการด้านการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบล บ้านกลับและหน่วยงานอื่นให้ประชาชนได้รับทราบในรูปแบบของแผ่นพับ เอกสาร ขององค์การบริหารส่วนตำบล และการปิดประกาศบอร์ดประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ 2.นโยบายด้านเศรษฐกิจ 2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบอาชีพตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบนพื้นฐานชุมชนพอเพียง เช่น การผสมผสานเกษตรอินทรีย์ และเกษตรทางเลือก เป็นต้น 2.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม เพื่อจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพผลิตสินค้าชุมชนให้มีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นที่แพร่หลายกว้างขวาง ในการเพิ่มมูลค่าของสินค้า และรายได้แก่ประชาชน 2.3 ส่งเสริมอาชีพเพื่อให้ประชาชนมีรายได้เสริมจากอาชีพปกติ โดยการให้ประชาชนมีโอกาสเลือกประกอบอาชีพมากยิ่งขึ้น 3. นโยบายด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและกีฬา 3.1 พัฒนาการศึกษาระดับปฐมวัย เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย การเรียนการสอนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของประชาชน 3.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการศึกษาค้นคว้าเชิงวิจัยของโรงเรียนภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล และเพิ่มศักยภาพบุคลากรทางการศึกษา 3.3 จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ข้อมูลข่าวสารของตำบล เพื่อให้ประชาชนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ๆ อันจะเป็นภูมิคุ้มกันให้คนมีความรอบรู้เท่ากันและพร้อมเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นจากภายในและภายนอก 3.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ วัด เป็นศูนย์กลางในการยึดเหนี่ยวจิตใจ สร้างความศรัทธาและปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนหยั่งลึกในการมีศีลธรรม คุณธรรมและจริยธรรม เช่น การอบรมด้านจริยธรรม คุณธรรมศาสนาพุทธ และอื่นๆ คุณธรรมสัญจร ฯลฯ 3.5 พัฒนาการกีฬาและนันทนาการโดยการสนับสนุนให้มีสถานที่ออกกำลังกายและเล่นกีฬาสำหรับประชาชนทุกเพศ ทุกวัยอย่างเหมาะสม จัดหาอุปกรณ์กีฬา และอุปกรณ์ออกกำลังกายให้แก่ชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล 3.6 ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมทางศาสนา โดยการอนุรักษ์และบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีงามของไทยพุทธ และอื่นๆ เช่น กิจกรรมบรรพชาสามเณรฤดูร้อน ประเพณีงานทำบุญเดือน 3 (กำฟ้า) ประเพณีงานลอยกระทง วันเด็กแห่งชาติ วันสงกรานต์ วันผู้สูงอายุ ฯลฯ 4. นโยบายด้านการสาธารณสุข 4.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล มีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถเข้ารับการบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานของรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง 4.2 รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดิน และจัดการขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลของชมชน 4.3 ควบคุมดูแลและป้องกันโรคติดต่อต่างๆ รวมทั้งโรคที่เกิดในสัตว์เลี้ยง 4.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานีอนามัยบริการด้านสาธารณสุขมูลฐานชุมชนแก่ประชาชนเป็นที่พึงพอใจของผู้มาใช้บริการอย่างกว้างขวาง 5. นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 5.1 รณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมการจัดการทรัพยากรน้ำ ควบคุมเฝ้าระวังปัญหามลพิษทางน้ำให้อยู่ในสภาพที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและอนามัยของประชาชน 5.2 ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ให้มีความสะอาดและสวยงาม 5.3 รณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกต้นไม้ และเล็งเห็นคุณค่าของป่าไม้ เพื่อรักษาความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ ในการลดภาวะโลกร้อน 5.4 พัฒนาและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่มีอยู่ในองค์การบริหารส่วนตำบล |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|